หากรถค้างต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับทันที

กรมการขนส่งทางบก เผย!! กรณีหยุดใช้รถ เลิกใช้รถ หรือรถชำรุดสูญหาย เป็นเหตุให้รถใช้งานไม่ได้ทุกกรณี ต้องแจ้งการไม่ใช้รถ ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ หากรถค้างต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับทันที

ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก อำนวยความสะดวกให้เจ้าของรถสามารถชำระภาษีรถได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีช่องทางให้เลือกใช้บริการหลายช่องทาง

ซึ่งดำเนินการได้ก่อนครบอายุภาษี 90 วัน แต่ปรากฏว่ายังมีเจ้าของรถบางรายที่ไม่ได้มาติดต่อชำระภาษีรถประจำปี และไม่ได้ดำเนินการแจ้งไม่ใช้รถกับนายทะเบียน เนื่องเข้าใจผิดว่ารถที่สูญหาย ชำรุด หรือเลิกใช้แล้วไม่ต้องชำระภาษีแล้ว ซึ่งความเป็นจริงเจ้าของรถจะต้องมาติดต่อขอแจ้งการไม่ใช้รถต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนไว้ หากไม่มาติดต่อดำเนินการจะต้องชำระภาษีและค่าปรับ และหากเป็นการค้างชำระภาษีรถเกิน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับทันที หากมีความประสงค์ใช้รถดังกล่าวต่อไปจะต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่เท่านั้น

ดังนั้น หากเจ้าของรถรายใดมีความจำเป็นต้องหยุดใช้รถ ขอให้ติดต่อแจ้งการไม่ใช้รถ ณ สำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ ใช้หลักฐานคู่มือจดทะเบียนรถ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน แผ่นป้ายทะเบียนรถ และแบบคำขอแจ้งการไม่ใช้รถ

และเมื่อเจ้าของรถมีความประสงค์ขอใช้รถต่อ ก็สามารถดำเนินการแจ้งใช้รถดังกล่าวได้ โดยใช้หลักฐานคู่มือจดทะเบียนรถ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน แผ่นป้ายทะเบียนรถ แบบคำขอแจ้งใช้รถที่แจ้งไม่ใช้รถไว้ และหลักฐาน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

ขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ที่ควรรู้

นอกจาก พ.ร.บ. รถยนต์ จะเป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องทำการ ต่ออายุ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปีแล้ว การ ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญและต้องทำการต่ออายุเป็นประจำทุกปีเช่นกัน ไม่เช่นนั้นหากนำรถยนต์ที่ไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์ หรือไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์มาใช้บนท้องถนนแล้ว จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และหากขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี จะทำให้ทะเบียนรถจะถูกระงับทันที เลยได้นำขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ที่ควรรู้มาฝากกัน ไปดูกันว่าต้องทำอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง

1. ตรวจสภาพรถยนต์

สำหรับรถยนต์ที่จะทำการต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ หากรถยนต์ที่ใช้มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) แล้วนำใบตรวจสภาพรถยนต์มาใช้ในการต่อภาษีรถยนต์อีกครั้ง

2. ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

นอกจากจะทำการตรวจสภาพรถยนต์แล้ว ก่อนต่อภาษีรถยนต์ อย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ด้วย เพราะจะได้นำเอกสารแนบท้ายหรือส่วนหางของ พ.ร.บ. รถยนต์ มาใช้ในการต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์นั่นเอง แม้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์จะยังไม่หมดอายุ ก็สามารถทำการต่อ พ.ร.บ.ล่วงหน้าได้ 30 วัน และสามารถกำหนดวันคุ้มครองให้ต่อจากวันที่ พ.ร.บ.หมดอายุได้

3. ขอเอกสารรับรองการติดแก๊ส

หากรถยนต์คันที่จะต่อภาษีได้ติดตั้งแก๊ส ไม่ว่าจะเป็นแก๊ส NGV หรือ LPG อย่าลืมขอเอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สจากสถานที่ติดตั้งแก๊สไว้ด้วย เพราะถือว่ารถยนต์ดังกล่าวมีการดัดแปลง ต้องแจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่งทางบก ซึ่งรถยนต์ที่ติดแก๊ส LPG ควรตรวจสอบถังบรรจุก๊าซทุกๆ 5 ปี และทุกๆ 1 ปี สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV โดยควรตรวจกับสถานที่ที่ได้รับมาตรฐานจากกรมขนส่ง และมีวิศวกรออกใบรับรองอย่างถูกต้อง

4. เตรียมเอกสารการต่อภาษีรถยนต์

เมื่อทำขั้นตอนต่างๆ ข้างต้นเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคราวเตรียมเอกสารให้พร้อม แล้วเตรียมยื่นเอกสารให้กับสถานที่ที่รับต่อภาษีรถยนต์ได้เลย

เล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
พ.ร.บ. รถยนต์
ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)
เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊ส (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV หรือ LPG)

5. ชำระภาษีรถยนต์

เมื่อเตรียมเอกสารต่างๆ พร้อมแล้ว ก็ถึงเวลาต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้แล้วค่ะ โดยสถานที่ที่สามารถต่อภาษีรถยนต์